

งานประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานให้บริการและสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยในด้านการเรียนการสอนและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันก็มีการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาเช่าสถานที่ในการจัดอบรม/ประชุมอบรม/สัมมนา ซึ่งมีจำนวนผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้มหาวิทยาลัยมีรายได้เพิ่มขึ้น พร้อมกับค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และการบริหารจัดการทรัพยากรที่สูงขึ้นตามไปด้วย
ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้บุคลากรภายในหน่วยงานตลอดจนผู้มาใช้บริการเล็งเห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและตื่นตัวในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หน่วยประสานงานฯ ยินดีน้อมรับนโยบายของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยมีแผนจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ อันจะส่งผลไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลให้เกิดการประหยัดทรัพยากรต่างๆ ได้แก่ พลังงานเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า น้ำประปา ตลอดจนวัสดุใช้สอยในชีวิตประจำวัน และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
ขนาดพื้นที่และที่ตั้งของงานประสานงานฯ
งานประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร มีสำนักงานตั้งอยู่ ณ เลขที่ 979/42-46 ชั้น 19 อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร พื้นที่ภายในประกอบด้วย 5 ยูนิต (ยูนิต A – ยูนิต E) ขนาดพื้นที่ 1235.76 ตารางเมตร แบ่งเป็นห้องทำงานสำหรับผู้บริหาร ห้องทำงานอาจารย์ ห้องประชุม ห้องบรรยาย ห้องสมุด และพื้นที่สำนักงาน ให้บริการแก่ หน่วยงานภายในต่างๆ ของมหาวิทยาลัย นักศึกษา และแบ่งสรรพื้นที่บางส่วนสำหรับให้หน่วยงานภายนอกเช่าเพื่อการจัดประชุม อบรม สัมมนา ทั้งนี้ พื้นที่ในโซนนยูนิต B ปัจจุบันได้ใช้เป็นสำนักงานชั่วคราวของวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
พื้นที่สีเขียวงานประสานงานฯ
ด้วยมีที่ตั้งสำนักงานอยู่บนอาคารสูงทำให้ งานประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร มีข้อจำกัดในการจัดพื้นที่สีเขียว ทั้งด้วยลักษณะทางกายภาพที่ไม่เอื้ออำนวย ปริมาณแสงสว่าง และข้อกำหนดส่วนกลางอื่นๆ ที่ผู้ใช้อาคารต้องถือปฏิบัติ ซึ่งที่ผ่านมางานประสานงานฯ ได้เลือกปลูกพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แสงรำไร เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยปลูกไม้กระถางและไม้เลื้อย เป็นหลัก
บุคลากรงานประสานงานฯ
งานประสานงานฯ มีบุคลากร จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
1. นางสาวอรพินท์ ไชยพงศ์ ตำแหน่งรักษาการแทนหัวหน้างานประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
2. นางกาญจนา จิตวิโชติ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
3. นางสาวสุเมตตา อุราโรจน์ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
4. นายปรเมนทร์ รักษ์ดี ตำแหน่งนายช่างเทคนิค
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดพลังงาน
งานประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินโครงการประหยัดพลังงาน ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2557 กระทั่งถึงปัจจุบัน ภายใต้ชื่อโครงการ “หน่วยประสานงานฯ ร่วมใจ รู้จักใช้พลังงาน” โดยเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า พฤติกรรมการใช้ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ พร้อมกันนั้นได้รณรงค์ให้บุคลากรในหน่วยงานประหยัดพลังงานและทรัพยากรต่างๆ อย่างจริงจัง
มาตรการควบคุมการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในสำนักงาน
1.1 เครื่องปรับอากาศ
– ควรตั้งอุณหภูมิปรับอากาศให้เหมาะสมที่ 25-26 องศาเซลเซียส
เปิด/ปิด ครั้งที่ 1 เวลา 08.00 – 11.00 น.
เปิด/ปิด ครั้งที่ 2 เวลา 13.30 – 16.00 น.
– บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ
1.2 ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
– ปิดไฟฟ้าแสงสว่างในเวลาพักกลางวัน และเปิดเท่าที่จำเป็น โดยพิจารณาใช้แสงธรรมชาติจากภายนอก
– เลือกใช้อุปกรณ์ฉลากไฟเบอร์ 5
– บำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
1.3 อุปกรณ์สำนักงาน ควรถอดปลั๊กทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
1.3.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
– ปิดจอภาพในเวลาพักกลางวัน หรือเมื่อไม่ใช้งานเกิน 15 นาที โดยการตั้งโปรแกรมปิดหน้าจออัตโนมัติ (Standby mode )
1.3.2 เครื่องถ่ายเอกสาร
– ควรกดปุ่มพัก (Standby mode ) เมื่อใช้งานเสร็จ
– ปิดเครื่องในเวลาพักกลางวัน
จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าของงานประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
1. หลอดไฟฟ้าประกอบด้วย หลอดไฟชนิดต่างๆ ดังนี้2. เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 23 ชุด
3. เครื่อง Scanner จำนวน 1 เครื่อง
4. เครื่อง Printer จำนวน 2 เครื่อง
5. เครื่องโทรสาร จำนวน 1 เครื่อง
6. เครื่องถ่ายเอกสาร จำนวน 1 เครื่อง
7. เครื่องปรับอากาศแยกส่วน จำนวน 14 เครื่อง (มีฉลากประหยัดไฟ จำนวน 2 เครื่อง)
8. เครื่องทำลายเอกสาร จำนวน 1 เครื่อง
9. ตู้เย็น จำนวน 2 เครื่อง
10. เตาอบไมโครเวฟ จำนวน 1 เครื่อง
11. กระติกน้ำร้อน จำนวน 1 ตัว
12. ถังต้มน้ำร้อนไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง
13. เครื่องทำน้ำเย็น จำนวน 2 เครื่อง
14. โทรทัศน์สี จำนวน 14 เครื่อง
15. พัดลม จำนวน 3 เครื่อง
16. ชุดอุปกรณ์สื่อโสตฯ (ห้องประชุม) จำนวน 4 ชุด
งานประสานงานฯ ได้ดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED ประหยัดไฟ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วในพื้นที่สำนักงานหน่วยประสานงานฯ ห้องประชุม 1 ห้องบรรยาย 1 และห้องสำนักงานวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในปี 2564 (เทียบเคียงกับปี 2563)
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเดือนตุลาคม 2563 – กรกฏาคม 2564
ในระหว่างเดือนตุลาคม 2563 – เดือนกรกฎาคม 2564 งานประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร มีการใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น 41,514 หน่วย (kwh) เป็นจำนวนเงินค่าไฟ 174,625.60 บาท ซึ่งลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา 4,221 หน่วย (kwh) คิดเป็นร้อยละ 9.23 จำนวนเงินค่าไฟลดลง 25,672.22 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.82
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
งานประสานงานฯ มีนโยบายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยส่งเสริมให้บุคลากรปลูกต้นไม้ในบริเวณต่างๆ ของสำนักงาน เพื่อให้ทุกพื้นที่น่าอยู่น่าทำงาน อันเป็นการสร้างพื้นที่สีเขียวได้อีกทางหนึ่ง และถึงแม้บนอาคารสูงจะไม่สามารถดำเนินการได้มากนักในเรื่องนี้ แต่ในส่วนที่สามารถดำเนินการได้ หน่วยประสานงานฯ ก็ไม่ได้ปล่อยปละละเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกใช้เครื่องปรับอากาศและสารทำความเย็นที่ปราศจากสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) การส่งเสริมให้บุคลากรลดการใช้พลาสติกและ กล่องโฟม ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
นโยบายอนุรักษ์การใช้พลังงานของหน่วยงาน
งานประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการประหยัดพลังงาน ภายใต้ชื่อโครงการ “หน่วยประสานงานฯ ร่วมใจ รู้จักใช้พลังงาน” ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์ที่จัดทำขึ้น โดยมุ่งหวังให้บุคลากรภายในหน่วยงานตลอดจนนักศึกษาเล็งเห็นความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าผ่านกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ อันจะส่งผลไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลให้เกิดการประหยัดทรัพยากรต่างๆ ได้แก่ พลังงานเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า น้ำประปา ตลอดจนวัสดุใช้สอยในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง ซึ่ง โครงการดังกล่าวสอดรับกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยงานประสานงานฯ ได้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นระยะยาว ครอบคลุมกิจกรรมด้านการประหยัดทรัพยากร ประหยัดพลังงาน และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ปลูกฝังให้บุคลากรงานประสานงานฯ และนักศึกษา รู้จักใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า
2. ลดปริมาณการใช้พลังงานภายในหน่วยงานที่เกินความจำเป็นจัดทำมาตรการประหยัดพลังงานภายในหน่วยงาน
3. จัดทำมาตรการประหยัดพลังงานภายในหน่วยงาน
4. ถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการในการใช้พลังงานอย่างถูกต้องและคุ้มค่าให้แก่บุคลากรและนักศึกษา
5. อนุรักษ์พลังงานและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมภายในหน่วยงานให้สวยงาม สะอาด และปลอดภัย
นโยบายการลดใช้กระดาษและพลาสติกในหน่วยงาน
1. พิมพ์และสำเนาเอกสารเฉพาะที่จำเป็น
2. ส่งเสริมการใช้งานระบบ e-meeting เพื่อลดการพิมพ์เอกสารประกอบการประชุม
3. ใช้กระดาษพิมพ์ทั้ง 2 หน้า
4. ใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. สนับสนุนการใช้ซ้ำวัสดุบางจำพวก เช่น ซองเอกสาร กล่องกระดาษ
6. แยกถังขยะเปียกและขยะแห้งเพื่อให้ง่ายต่อการกำจัด
การรีไซเคิลขยะ
ข้อมูลการใช้้งานน้ำประปา งานประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
ปี พ.ศ. | การใช้น้ำประปา (ยูนิต) | น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ (ลบ.ม.) |
---|---|---|
2560 | 590 ยูนิต | 0 |
2561 | 537 ยูนิต | 0 |
2562 | 557 ยูนิต | 0 |
2563 | 654 ยูนิต | 0 |
2564 | 539 ยูนิต | 0 |
2565 | 281 ยูนิต | 0 |
งานประสานงานฯ ชำระค่าน้ำประปาให้กับนิติบุคคลอาคารชุด เอส เอ็ม ทาวเวอร์ คอนโดมิเนียม ในอัตรา 25 บาท/ยูนิต
นโยบายอนุรักษ์การใช้น้ำของงานประสานงานฯ 1. ปิดน้ำทุกครั้งหลังใช้งาน 2. สำรวจ ตรวจสอบ และทำการเปลี่ยนหรือซ่อมแซม ก๊อกน้ำ และระบบสุขภัณฑ์ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 3. ปรับระดับลูกลอยเพื่อควบคุมปริมาณน้ำในชักโครกให้เหมาะสม
งานประสานงานฯ ใช้บริการรถยนต์เช่าพร้อมพนักงานขับรถ (รถตู้) จำนวน 1 คัน สำหรับใช้ในภารกิจรับรองผู้บริหาร และใช้งานอื่นๆ ตามความจำเป็น ทั้งงานรับส่งเอกสาร และการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายในตามที่มีการขอใช้บริการ
มาตรการควบคุมการใช้รถยนต์งานประสานงานฯ
1. ควรขับรถที่ความเร็วเหมาะสมตามกฎหมายกำหนดไว้ (ไม่เกิน 90 กม./ ชั่วโมง)
2. ศึกษาเส้นทางและวางแผนการเดินทางอย่างรอบคอบ เพื่อลดระยะทาง
3. ไม่ควรติดเครื่องจอดเฉยๆ และบรรทุกหรือเก็บสัมภาระสิ่งของที่ไม่จำเป็น
4. หมั่นดูแลบำรุงรักษาให้ระบบต่างๆ ของรถยนต์และเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
งานประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร รับเอานโยบายสีเขียวของมหาวิทยาลัย Green Walailak University มาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงาน และถึงแม้ว่างานประสานงานฯ จะไม่ได้มีส่วนในการจัดการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ได้สนับสนุนให้บุคลากรเรียนรู้และแบ่งปันองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับโครงการสีเขียวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ในชิ้นงานต่างๆ โดยเฉพาะการจัดอาหารรับรองการประชุม และการจัดทำของชุดของขวัญเนื่องในโอกาสต่างๆ เป็นต้น
โครงการสีเขียว งานประสานงานฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565